KVIS 1 and the Success at 12th International Students Science Fair (ISSF 2016)
โรงเรียนกำเนิดวิทย์ได้เข้าร่วมประชุม International Students Science Fair เป็นครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากนักเรียน KVIS รุ่นแรก (KVIS 1) ได้จบการเรียนปีแรก (Year 11) และมีสถิติที่น่าสนใจเพิ่มเติมก็คือ ผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียนกำเนิดวิทย์ คือ ดร.ธงชัย ชิวปรีชา ก็เป็น Principal คนแรกของกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก ที่ได้เป็นผู้ริเริ่มสำคัญในการจัดประชุม International Students Science Fair เป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 2005 เมื่อครั้งที่ท่านเป็นผู้อำนวยการคนแรก ของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (ในระบบองค์การมหาชน)
International Students Science Fair ซึ่งจัดขึ้นที่ NUS High School of Math and Science ณ ประเทศสิงค์โปร ช่วงวันที่ 23-27 พฤษภาคม ที่ผ่านมานั้น นับเป็นครั้งที่ 12 และใช้ชื่อเรียกว่า 12th International Students Science Fair การที่โรงเรียนกำเนิดวิทย์ได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุมทั้งที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกของ International Science Schools Network (ISSN) นั้น นับได้ว่าเป็นเกียรติแก่โรงเรียนกำเนิดวิทย์เป็นอย่างมาก นอกจาก ดร.ธงชัย ชิวปรีชา ที่ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมแล้ว Chemistry Teacher คือคุณครู Sakol Warintaraporn ก็ได้เข้าร่วมประชุมและเสนอผลงานการสอน Green Chemistry at Microscale ใน Teacher Sharing Session ด้วย
นักเรียนโรงเรียนกำเนิดวิทย์ 3 คน คือ Gunta Serikitjaroen, Kokhao Chitnirat, และ Napatsorn Kraivisitkulได้นำเสนอผลงานวิจัยร่วมกันทั้งในภาคบรรยายและโพสเตอร์ หัวข้อเรื่อง “Ethanol Production from Common Thai Bananas” และเป็นที่น่ายินดีว่าผลงานวิจัยของนักเรียนโรงเรียนกำเนิดวิทย์ 3 คน ได้รับคัดเลือกให้รับรางวัล “Best Research and Development” ในสาขาชีววิทยา ปัจจัยที่คาดว่ากรรมการตัดสินให้รางวัลดังกล่าว น่าจะเป็นดังนี้ (1) เป็นแนวคิดที่ดีในการพยายามทดลองใช้ผลิตผลทางการเกษตรที่ประเทศไทยเรามีอยู่มาก เปลี่ยนผลิตผลทางการเกษตรโดยวิธีทางชีววิทยาให้เป็นโมเลกุลที่มีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้หลากหลาย รวมทั้งเป็นโมกุลพลังงานด้วย (2) ใช้ Scanning Electron Microscope ที่โรงเรียนกำเนิดวิทย์มีอยู่ เพื่อแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในการทำงานของเซลล์ยีสต์ (3) ใช้เทคนิคทาง Biological Chemistry คือใช้เอนไซม์สองเอนไซม์ ได้แก่ Alcohol Dehydrogenase และ Aldehyde Dehydrogenase ในการวัดระดับของเอทานอลได้อย่างแม่นยำ และ (4) ใช้ Vernier Mini GC Gas Chromatograph ที่โรงเรียนกำเนิดวิทย์มีอยู่ เพื่อการพิสูจน์เอกลักษณ์ Ethanol ได้อย่างเหมาะสม สำหรับนักเรียนมัธยมที่ได้เรียนรู้ เข้าใจ และใช้เทคนิคดังกล่าวได้ นับว่าเป็นการเรียนรู้ที่ยอดเยี่ยมแล้ว